การวิเคราะห์ SWOT ของโรงเรียนชุมชนวัดสุเมธ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา
เขต 1
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก โอกาส (Opportunities) และ
อุปสรรค(Threats)
ด้าน
|
โอกาส (Opportunities)
|
อุปสรรค(Threats)
|
สังคมแลวัฒนธรรม(S)
|
1.ชุมชนให้ความร่วมมือในด้านทรัพยากรวิชาการทำให้โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.ชุมชนและหน่วยงานท้องถิ่นร่วมกันอนุรักษ์ประเพณี
วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นส่งผลให้นักเรียนมีแหล่งการศึกษาและทำให้นักเรียนมีแบบอย่างที่ดี
3.ผู้ปกครองส่วนใหญ่เห็นความสำคัญด้านการศึกษาและให้การส่งเสริมสนับสนุนนักเรียนด้านการศึกษาเป็นอย่างดี
|
1.ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีฐานะยากจนประกอบอาชีพรับจ้าง ไม่มีเวลาดูแลนักเรียน ขาดวัสดุอุปกรณ์ส่งเสริมการเรียน ส่งผลกระทบต่อผลการเรียนของนักเรียน
2.ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีปัญหาด้านครอบครัวแตกแยก ส่งผลกระทบต่อผลการเรียนของนักเรียน
3.สภาพแวดล้อมรอบๆโรงเรียน มีสิ่งยั่วยุ ล่อแหลมไม่เหมาะสม ทำให้เสียการเรียน เช่น ร้านเกมอินเตอร์เน็ท
|
จากการวิเคราะห์พบว่าสังคมวัฒนธรรม มีโอกาสมากกว่าอุปสรรค บุคลากรของโรงเรียนและชุมชนมีกิจกรรมร่วมกันบ่อยครั้งจะส่งผลการพัมนานักเรียนด้านสังคมวัฒนธรรมได้ดีขึ้น
ด้าน
|
โอกาส (Opportunities)
|
อุปสรรค(Threats)
|
เทคโนโลยี(T)
|
1.ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ท)
ทำให้นักเรียนมีความต้องการบริโภค ส่งผลให้นักเรียนเกิดความรอบรู้และสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
2.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเห็นความสำคัญ ความจำเป็นในการใช้เทคโนโลยีจึงให้การส่งเสริมสนับสนุน
ส่งผลทำให้มีสื่อการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ ในการจัดการเรียนการสอน
|
1.บุคลากรขาดความชำนาญในการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการศึกษา
2.อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนไม่เพียงพอ ไม่ทันสมัยและขาดการซ่อมบำรุง
3. ระบบเครือข่าย internet เสียบ่อย
ทำให้การใช้งานจัดการเรียนการสอนขาดประสิทธิภาพ
|
จากการวิเคราะห์พบว่า อุปสรรคมากกว่าโอกาส แต่อุปสรรคสามารถพัฒนาได้ด้วยการพัฒนาบุคลากรในการใช้เทคโนโลยีและจัดหาบุคลากรที่มีความชำนาญการด้านดูแลระบบคอมพิวเตอร์เพิ่มเติม
ด้าน
|
โอกาส (Opportunities)
|
อุปสรรค(Threats)
|
เศรษฐกิจ(E)
|
1.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
วัด
ชุมชนให้การสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักเรียน ส่งผลให้นักเรียนมีทุนใช้จ่ายในการจัดซื้ออาหารและอุปกรณ์การเรียน
2.ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา
องค์กรเอกชนต่างๆร่วมกับทางโรงเรียนได้บริจาคทุนทรัพย์ในด้านต่างๆและวัสดุอุปกรณ์สนับสนุนการศึกษา ส่งผลทำให้การศึกษาของโรงเรียนพัฒนาไปอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
|
1..ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างไม่มั่นคง และมีรายได้น้อยไม่แน่นอน ส่งผลกระทบต่อการเรียนของนักเรียน
|
จากการวิเคราะห์พบว่า ด้านเศรษฐกิจ ด้านอุปสรรคมากกว่าโอกาส
ผู้ปกครองชุมชนมีฐานะยากจน มีรายได้น้อย
ด้าน
|
โอกาส (Opportunities)
|
อุปสรรค(Threats)
|
การเมืองและกฎหมาย(P)
|
1.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความสนใจและสนับสนุนด้านการศึกษาและงบประมาณอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้โรงเรียนพัฒนาไปในทางที่ดี
2.ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายด้านการจัดการศึกษา ส่งผลให้โรงเรียนได้รับการสนับสนุนมากขึ้น
|
1.ผู้ปกครองบางส่วนไม่เข้าใจนโยบายปฏิรูปการศึกษา ขาดความรู้เรื่องกฎหมายและ
พ.ร.บ.การศึกษาส่งผลให้ขาดความร่วมมือในการจัดการศึกษา
2.การดำเนินการด้านการจัดการทรัพยากรทางการศึกษาไม่สอดคล้องกฎระเบียบการปกครองส่วนท้องถิ่น
|
จากการวิเคราะห์พบว่า การเมืองและกฎหมายโอกาสมากกกว่าอุปสรรค
สามารถเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปกครองและชุมชน โดยการประชุมชี้แจง ประชาสัมพันธ์ด้านเอกสารเผยแพร่ได้
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน จุดแข็ง (Strengths) และ จุดอ่อน(Weaknesses)
ด้าน
|
จุดแข็ง (Strengths)
|
จุดอ่อน(Weaknesses)
|
โครงสร้างและนโยบาย(S1)
|
1.โรงเรียนกำหนดนโยบายและแผนงานครอบคลุมทุกสายงานของบุคลากรทุกฝ่าย
ส่งผลทำให้ได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกคนเป็นอย่างดี
2.มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ
และเป้าหมายดำเนินงานชัดเจน
ส่งผลให้สามารถนำเป็นทิศทางในการจัดการศึกษาได้อย่างถูกต้อง
3.การบริหารงานของโรงเรียนมีการกระจายอำนาจตามโครงสร้างอย่างชัดเจน
ทำให้การบริหารงานของโรงเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
|
1.คณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายของโรงเรียนน้อย ส่งผลให้การดำเนินงานไม่บรรลุผลเท่าที่ควร
2.นโยบายการจัดการศึกษามีภาระงานที่มากขึ้น
ทำให้ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของครูลดลง
3.โครงสร้างการบริหารงานในโรงเรียนเป็นระบบแต่บุคลากรในโรงเรียนไม่เพียงพอต่อภาระงาน
|
จากวิเคราะห์พบว่า ด้านโครงสร้างและนโยบาย จุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน สามารถพัฒนาโรงเรียนควรต้องมีการปรับปรุงบูรณาการการวิเคราะห์นโยบายสู่การปฏิบัติ
และการทำงานของบุคลากรเป็นทีม ความเชื่อมโยงนบาย
ด้าน
|
จุดแข็ง (Strengths)
|
จุดอ่อน(Weaknesses)
|
ผลผลิตและการบริการ(S2)
|
1.โรงเรียนจัดการบริหารการศึกษาอย่างทั่วถึง ทำให้ผู้เรียนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเสมอภาคและทั่วถึง
2.โรงเรียนมีระบบประกันคุณภาพการศึกษา
ทำให้สามารถยกระดับการบริการและนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเฉลี่ยดีขึ้น
สอบเข้าเรียนต่อในโรงเรียนประจำอำเภอได้มากขึ้น
3.โรงเรียนเป็นสถานที่บริการสำหรับชุมชนในการออกกำลังกายมีประชาชนในชุมชนได้เข้ามาใช้บริการ
|
1.นักเรียนขาดความสนใจในการใช้แหล่งเรียนรู้โดยเฉพาะการรักการอ่าน
ส่งผลให้ได้รับประสบการณ์ไม่หลากหลายเท่าที่ควร
2.การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษายังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำในกลุ่มสาระหลัก
3.เครื่องเล่นและสนามเด็กเล่นไม่เพียงพอต่อการใช้บริการ
|
จากผลการวิเคราะห์พบว่า จุดอ่อนมากกว่าจุดแข็ง
นักเรียนยังขาดคุณภาพอย่างมีผลสัมฤทธิ์การเรียนไม่เป็นที่น่าพอใจแต่สามารถปรับปรุงพัฒนาโดยดำเนินการแบบเข้มด้านทักษะการอ่าน
เขียน คิดวิเคราะห์
ด้าน
|
จุดแข็ง (Strengths)
|
จุดอ่อน(Weaknesses)
|
บุคลากร
(M1)
|
1.บุคลากรของโรงเรียนมีวุฒิทางการศึกษาระดับปริญญาตรี และได้รับการสนับสนุนการพัฒนาในทุกด้าน ทั้งด้านความรู้ความสามารถ ทักษะการทำงานในโอกาสต่างๆกัน บุคลากรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ส่งผลให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ
2.บุคลากร ตั้งใจทำงานอย่างเต็มความสามารถ ส่งผลให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ
3.ครู มีคุณธรรมจริยธรรมเป็นแบบอย่างที่ดี
มีความสามัคคี และมีการทำงานเป็นหมู่คณะ
|
1.โรงเรียนมีบุคลากรที่สอนไม่ตรงกับสาขาวิชาที่มีวุฒิ ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ดีเท่าที่ควร
2.บุคลากรบางส่วนขาดความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์สมัยใหม่
3.บุคลากรใช้เทคนิควิธีการสอนยังไม่หลากหลาย
|
จากผลการวิเคราะห์พบว่าด้านบุคลากรจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อนมีบุคลากรอายุราชการมากมีความชำนาญการสอน
แต่ที่บุคลากรสอนไม่ตรงกับวิชาและขาดทักษะการใช้เทคโนโลยีการศึกษาที่ต้องได้รับการปรับปรุงพัฒนาด้วยการอบรมทักษะการใช้เทคโนโลยี
ด้าน
|
จุดแข็ง (Strengths)
|
จุดอ่อน(Weaknesses)
|
ประสิทธิภาพทางการเงิน(M2)
|
1.การใช้งบประมาณโรงเรียน โปร่งใส
สามารถติดตามตรวจสอบได้
2.การจัดสรรงบประมาณสำหรับซื้ออุปกรณ์
การเรียนการสอนมีเพียงพอกับความต้องการ
|
1.การดำเนินงานด้านงบประมาณ
ไม่คล่องตัว ผู้บริหาร ครู
ต้องใช้เงินส่วนตัวสำรองจ่ายในการดำเนินการ
2.ขาดงบประมาณสนับสนุนด้านเทคโนโลยีพัฒนาศักยภาพนักเรียนทันสมัย
|
จากการวิเคราะห์พบว่า ด้านประสิทธิภาพทางการเงิน
จุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน แต่จุดอ่อนที่ควรปรับปรุงการบริหารจัดการ
ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ความคล่องตัวการเบิกจ่ายเงิน
และงบประมาณสนับสนุนเทคโนโลยี
ด้าน
|
จุดแข็ง (Strengths)
|
จุดอ่อน(Weaknesses)
|
วัสดุอุปกรณ์
(M3)
|
1.โรงเรียนมีสื่ออุปกรณ์เพียงพอในระดับหนึ่ง สามารถนาไปสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
2.โรงเรียนมีงบประมาณจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนอย่างเต็มที่ ส่งผลให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพมากขึ้น
|
1.วัสดุอุปกรณ์บางอย่างมีราคาแพงและไม่ได้คุณภาพ บางอย่างไม่ตรงกับความต้องการ
การดำเนินการจัดหาล่าช้าไม่ทันต่อความต้องการ
2.ห้องพิเศษต่างๆไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ลดลง
3.การซ่อมแซมอุปกรณ์ล่าช้า ไม่ทันต่อการใช้งาน
4.ระบบอินเตอร์เน็ตเสียบ่อย
ทำให้ใช้ในการรับทราบข่าวสารล่าช้า
|
จากการวิเคราะห์พบว่าด้านวัสดุอุปกรณ์
จุดอ่อนสามารถพัฒนาได้ด้วยการขอความร่วมมือจากหน่วยงาน องค์กรต่างๆสนับสนุนจัดหาวัสดุและปรับปรุงระบบ
ด้าน
|
จุดแข็ง (Strengths)
|
จุดอ่อน(Weaknesses)
|
การบริหารจัดการ
(M4)
|
1.ระบบบริหารมีการแบ่งโครงสร้างบริหารงานที่ชัดเจนเหมาะสม ส่งผลให้การปฏิบัติงานสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ
2.โรงเรียนมีแผนและโครงการเพื่อใช้ในการพัฒนาโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การจัดการการศึกษามีประสิทธิภาพ
3.โรงเรียนมีระบบสารสนเทศที่ดีส่งต่อการใช้ข้อมูลทำได้รวดเร็ว
มีประสิทธิภาพ
4.การเบิกจ่ายเงินเป็นไปตามระเบียบของทางราชการ
5.การบริหารจัดการผู้บริหารมีภาวะความเป็นผู้นำ มีคุณธรรม จริยธรรม
6.ครู ทุกคน มีศักยภาพในการทางานตามที่ได้รับมอบหมาย
7.โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์กับผู้ปกครอง ชุมชน
วิทยากรท้องถิ่นและหน่วยงานต่างๆในท้องถิ่นเสมอทำให้ได้รับความร่วมมือด้วยดี
ส่งผลทำให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน
|
1.มีการประสานงานและการประชาสัมพันธ์น้อย
การกำกับติดตามงานบางโครงการขาดความต่อเนื่อง
2.ระบบสารสนเทศมีหลายระบบและไม่เชื่อมโยงทำให้เกิดภาระงานในการจัดทำที่ซ้ำซ้อน ภาระงานมาก
3. งานนโนบายมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย
และมีภาระการรายงานด้านเอกสารมากทำให้มีอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
|
จากการวิเคราะห์พบว่าด้านการบริหารจัดการจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน
แต่จุดอ่อนสามารถที่จะพัฒนาได้โดยการร่วมมือของบุคลากร การบริหารทีมทำงาน มีการบูรณาการร่วมมือทุกฝ่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น